ไทยพบ "ฝีดาษลิง" รายแรกที่ภูเก็ต
?#ด่วน!?ไทยพบ ”ฝีดาษลิง” รายแรกที่ภูเก็ต เช็กรายละเอียด จากกรมควบคุมโรค ยืนยันแล้วเป็นเพศชาย สัญชาติไนจีเรีย เร่งสืบสวนโรค ‼️
กรมควบคุมโรค ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องลงพื้นที่สอบสวนผู้ป่วยโรคฝีดาษวานรที่ จ.ภูเก็ต เผยพบผู้ป่วยโรคฝีดาษวานรยืนยันที่จังหวัดภูเก็ต ถือเป็นรายแรกของประเทศไทย โดยขอประชาชนมั่นใจอย่าตื่นตระหนก กระทรวงสาธารณสุขมีความพร้อมในการรับมือโรคฝีดาษวานร ทั้งมาตรการเฝ้าระวัง ป้องกันควบคุมโรค คัดกรองและคัดแยกผู้ป่วยได้เร็ว
วันนี้ (21 กรกฎาคม 2565) นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ได้รับแจ้งจากโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดภูเก็ต พบผู้ป่วยสงสัยโรคฝีดาษวานร จึงส่งทีมปฏิบัติการสอบสวนควบคุมโรค (JIT) กองระบาดวิทยาและสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 11 นครศรีธรรมราช ลงพื้นที่สอบสวนโรคร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ตและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ตั้งแต่วันที่ 18 กรกฎาคม 2565
พบว่า ผู้ป่วยรายดังกล่าว เป็นเพศชาย สัญชาติไนจีเรีย อายุ 27 ปี มีประวัติเดินทางมาจากประเทศไนจีเรีย ให้ข้อมูลการป่วยว่าเมื่อ 1 สัปดาห์ก่อนมีไข้ ไอ เจ็บคอ น้ำมูก มีผื่นแดง ตุ่มนูนแดง ตุ่มหนอง เริ่มจากอวัยวะเพศลามไปใบหน้า ลำตัว แขน เก็บตัวอย่างส่งตรวจหาเชื้อก่อโรค เบื้องต้นผลการตรวจ PCR พบเชื้อ Monkeypox virus โดยห้องปฏิบัติการที่คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (TRC-EIDCC)
และต่อมายืนยันโดยห้องปฏิบัติการกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ช่วงบ่ายวันที่ 19 ก.ค. 65 และทีมสอบสวนควบคุมโรครวบรวมข้อมูลการสอบสวนทั้งข้อมูลอาการทางคลินิก ข้อมูลระบาดวิทยา และข้อมูลห้องปฏิบัติการเข้าพิจารณาในคณะกรรมการวิชาการ ภายใต้คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติในบ่ายวันที่ 21 กรกฎาคม 2565 ผลสรุปว่าเป็นผู้ป่วยยืนยันฝีดาษวานรที่พบในประเทศไทยเป็นครั้งแรก
โดยได้ประสานคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดภูเก็ตเพื่อมอบหมายเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อดำเนินการติดตามและค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติมพร้อมประเมินความเสี่ยงของการแพร่เชื้อในพื้นที่รับผิดชอบอย่างเข้มข้น
นายแพทย์โอภาส กล่าวต่อไปว่า องค์การอนามัยโรค (WHO) ไม่ได้ประกาศให้โรคฝีดาษวานรเป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข เนื่องจากผู้ป่วยส่วนใหญ่มีอาการไม่รุนแรง พร้อมกันนี้กระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศให้โรคฝีดาษวานรอยู่ในกลุ่มโรคติดต่อเฝ้าระวัง ตามที่ได้เผยแพร่ในราชกิจจานุเบกษา เรื่อง ชื่อและอาการสําคัญของโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2565 เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2565 ที่ผ่านมา จึงขอให้ประชาชนทำความเข้าใจกับธรรมชาติของโรคนี้ อย่าตื่นตระหนก และมั่นใจได้ว่ากระทรวงสาธารณสุขมีความพร้อมในการรับมือโรคฝีดาษวานร ทั้งมาตรการเฝ้าระวัง ป้องกันควบคุมโรคอย่างเข้มงวด
โดยกรมควบคุมโรคได้เปิดศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข กรณีโรคฝีดาษลิงโดยเฉพาะ ตั้งแต่วันที่ 21 พฤษภาคม 2565 เพื่อติดตามสถานการณ์การระบาดอย่างใกล้ชิด ที่ผ่านมาเคยคัดกรองและส่งตรวจในผู้ป่วยที่มีอาการเข้าได้กับโรคจำนวน 19 รายซึ่งผลตรวจพบว่าไม่เป็นฝีดาษวานร
ทั้งนี้ การเฝ้าระวังผู้ป่วยฝีดาษวานร ที่คลินิกนิรนาม คลินิกโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ คลินิกโรคผิวหนังและโรงพยาบาล ยังมีการตรวจคัดกรองและรายงานโรคตามนิยามผู้ป่วยสงสัยทุกราย โรคฝีดาษวานรเป็นโรคติดต่อต้องเฝ้าระวัง ตามพ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ.2558 ซึ่งแพร่โรคได้จากการสัมผัสโดยตรงกับผื่น ตุ่มน้ำใส ตุ่มหนองจากผู้ป่วย จึงขอให้ประชาชนร่วมมือกันปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคอย่างเคร่งครัด
โดยการหลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ที่มีอาการสงสัยโรคฝีดาษวานร เช่น ตุ่มน้ำใสหรือตุ่มหนองที่ผิวหนังตามตัว และไม่ใช้สิ่งของเครื่องใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น
ส่วนสถานการณ์โรคฝีดาษวานรทั่วโลก (ข้อมูล ณ วันที่ 17 ก.ค. 65) จำนวนผู้ป่วยยืนยันทั่วโลก 12,608 ราย พบผู้ป่วยยืนยันเพิ่มขึ้นเป็น 66 ประเทศ ประเทศที่มีผู้ป่วยสูง 5 ลำดับแรก ได้แก่ สเปน 2,835 ราย เยอรมัน 1,859 ราย สหรัฐอเมริกา 1,813 ราย อังกฤษ 1,778 ราย และฝรั่งเศส 908 ราย
กรมควบคุมโรค ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องลงพื้นที่สอบสวนผู้ป่วยโรคฝีดาษวานรที่ จ.ภูเก็ต เผยพบผู้ป่วยโรคฝีดาษวานรยืนยันที่จังหวัดภูเก็ต ถือเป็นรายแรกของประเทศไทย โดยขอประชาชนมั่นใจอย่าตื่นตระหนก กระทรวงสาธารณสุขมีความพร้อมในการรับมือโรคฝีดาษวานร ทั้งมาตรการเฝ้าระวัง ป้องกันควบคุมโรค คัดกรองและคัดแยกผู้ป่วยได้เร็ว
วันนี้ (21 กรกฎาคม 2565) นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ได้รับแจ้งจากโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดภูเก็ต พบผู้ป่วยสงสัยโรคฝีดาษวานร จึงส่งทีมปฏิบัติการสอบสวนควบคุมโรค (JIT) กองระบาดวิทยาและสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 11 นครศรีธรรมราช ลงพื้นที่สอบสวนโรคร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ตและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ตั้งแต่วันที่ 18 กรกฎาคม 2565
พบว่า ผู้ป่วยรายดังกล่าว เป็นเพศชาย สัญชาติไนจีเรีย อายุ 27 ปี มีประวัติเดินทางมาจากประเทศไนจีเรีย ให้ข้อมูลการป่วยว่าเมื่อ 1 สัปดาห์ก่อนมีไข้ ไอ เจ็บคอ น้ำมูก มีผื่นแดง ตุ่มนูนแดง ตุ่มหนอง เริ่มจากอวัยวะเพศลามไปใบหน้า ลำตัว แขน เก็บตัวอย่างส่งตรวจหาเชื้อก่อโรค เบื้องต้นผลการตรวจ PCR พบเชื้อ Monkeypox virus โดยห้องปฏิบัติการที่คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (TRC-EIDCC)
และต่อมายืนยันโดยห้องปฏิบัติการกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ช่วงบ่ายวันที่ 19 ก.ค. 65 และทีมสอบสวนควบคุมโรครวบรวมข้อมูลการสอบสวนทั้งข้อมูลอาการทางคลินิก ข้อมูลระบาดวิทยา และข้อมูลห้องปฏิบัติการเข้าพิจารณาในคณะกรรมการวิชาการ ภายใต้คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติในบ่ายวันที่ 21 กรกฎาคม 2565 ผลสรุปว่าเป็นผู้ป่วยยืนยันฝีดาษวานรที่พบในประเทศไทยเป็นครั้งแรก
โดยได้ประสานคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดภูเก็ตเพื่อมอบหมายเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อดำเนินการติดตามและค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติมพร้อมประเมินความเสี่ยงของการแพร่เชื้อในพื้นที่รับผิดชอบอย่างเข้มข้น
นายแพทย์โอภาส กล่าวต่อไปว่า องค์การอนามัยโรค (WHO) ไม่ได้ประกาศให้โรคฝีดาษวานรเป็นภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข เนื่องจากผู้ป่วยส่วนใหญ่มีอาการไม่รุนแรง พร้อมกันนี้กระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศให้โรคฝีดาษวานรอยู่ในกลุ่มโรคติดต่อเฝ้าระวัง ตามที่ได้เผยแพร่ในราชกิจจานุเบกษา เรื่อง ชื่อและอาการสําคัญของโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2565 เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2565 ที่ผ่านมา จึงขอให้ประชาชนทำความเข้าใจกับธรรมชาติของโรคนี้ อย่าตื่นตระหนก และมั่นใจได้ว่ากระทรวงสาธารณสุขมีความพร้อมในการรับมือโรคฝีดาษวานร ทั้งมาตรการเฝ้าระวัง ป้องกันควบคุมโรคอย่างเข้มงวด
โดยกรมควบคุมโรคได้เปิดศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข กรณีโรคฝีดาษลิงโดยเฉพาะ ตั้งแต่วันที่ 21 พฤษภาคม 2565 เพื่อติดตามสถานการณ์การระบาดอย่างใกล้ชิด ที่ผ่านมาเคยคัดกรองและส่งตรวจในผู้ป่วยที่มีอาการเข้าได้กับโรคจำนวน 19 รายซึ่งผลตรวจพบว่าไม่เป็นฝีดาษวานร
ทั้งนี้ การเฝ้าระวังผู้ป่วยฝีดาษวานร ที่คลินิกนิรนาม คลินิกโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ คลินิกโรคผิวหนังและโรงพยาบาล ยังมีการตรวจคัดกรองและรายงานโรคตามนิยามผู้ป่วยสงสัยทุกราย โรคฝีดาษวานรเป็นโรคติดต่อต้องเฝ้าระวัง ตามพ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ.2558 ซึ่งแพร่โรคได้จากการสัมผัสโดยตรงกับผื่น ตุ่มน้ำใส ตุ่มหนองจากผู้ป่วย จึงขอให้ประชาชนร่วมมือกันปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคอย่างเคร่งครัด
โดยการหลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ที่มีอาการสงสัยโรคฝีดาษวานร เช่น ตุ่มน้ำใสหรือตุ่มหนองที่ผิวหนังตามตัว และไม่ใช้สิ่งของเครื่องใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น
ส่วนสถานการณ์โรคฝีดาษวานรทั่วโลก (ข้อมูล ณ วันที่ 17 ก.ค. 65) จำนวนผู้ป่วยยืนยันทั่วโลก 12,608 ราย พบผู้ป่วยยืนยันเพิ่มขึ้นเป็น 66 ประเทศ ประเทศที่มีผู้ป่วยสูง 5 ลำดับแรก ได้แก่ สเปน 2,835 ราย เยอรมัน 1,859 ราย สหรัฐอเมริกา 1,813 ราย อังกฤษ 1,778 ราย และฝรั่งเศส 908 ราย